Political Cycle ประกาศผลการเลือกตั้ง หุ้นจะขึ้นหรือจะลง?
.
วันที่เราจะได้รู้ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐก็อยู่อีกไม่ไกลแล้ว
ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์และกระแสมากมายจากสำนักข่าวทั่วโลก
นักข่าวและนักวิเคราะห์มากมายได้พูดถึงผลกระทบต่างๆในด้านนโยบายของประธานาธิบดีสองคนนี้
.
ไม่ว่าจะเป็น นโยบายต่างประเทศกับจีน, Trans-Pacific Partnership, การเพิ่มภาษีกลุ่มบริษัท Technology, ผลประโยชน์ต่อบริษัทกลุ่ม renewable energy, ถ้าไบเดนได้ หุ้นจะลง? หุ้นจะขึ้น?, ฯลฯ และอีกมากมาย
เรื่องเหล่านี้หาอ่านได้จากหลายบทความและหลายสำนักข่าว
การคาดเดาอนาคตที่ทุกคนก็พยายามจะตีความ, ทำนายและกะเก็งราคาไปต่างๆนาๆ
.
แต่...การเลือกตั้งไม่ใช่สิ่งใหม่ที่คนเพิ่งสนใจ
แน่นอน! ตั้งแต่ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาดำรงตำแหน่งในปี 1789 สหรัฐอเมริกามีประธานาธิบดีมา 45 คน (รวมถึง Donald Trump)
และผ่านการเลือกตั้งมาหลายต่อหลายครั้ง ย่อมไม่แปลกที่จะมีนักเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยจำนวนมาก
ให้ความสนใจถึงผลกระทบของตลาดการเงินและทำการศึกษาและตีพิมพ์ผลงานวิจัยออกมาอย่างมากมายเลยครับ
.
วันนี้ผมอยากจะมาเล่าอีกมุมมองหนึ่งของการเลือกตั้งและตลาดการเงิน
ผ่านมุมมองของงานวิจัยแบบ empirical evidence (หลักฐานที่เกิดขึ้นจริงในอดีต) เรามาดูกันดีกว่าว่า มีประเด็นอะไรที่น่าสนใจบ้างครับ !
.
* อย่าลืมว่านี่เป็นเพียงการศึกษาจากหลักฐานและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งอาจไม่ได้เป็นตัวชี้วัดได้ 100% กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
** บทความนี้ไม่ได้เป็นการชี้แนะให้ซื้อหรือขายหุ้นแต่อย่างใด อยากให้ทุกคนลงทุนอย่างระมันระวังกันด้วยนะครับ
*** ผมไม่ได้เชียร์ใครเป็นพิเศษนะครับ เพียงแต่อยากจะเอา empirical fact มาพูดให้เพื่อนๆฟังกันครับ
.
=============
.
เริ่มกันเลยดีกว่า
มาดูกันว่าจากงานวิจัยมากมายที่ได้รับการตีพิมพ์ในสำนักพิมพ์ชั้นนำระดับโลก มีการกล่าวถึงหัวข้อนี้อย่างไร
.
1. การเลือกตั้ง หมายถึง ความผันผวนที่เพิ่มขึ้น และ ผลตอบแทนระยะสั้นอาจะเป็นขาลง
.
(Increase Volatility & Short Term Negative Impact)
ในหนึ่งปีหลังการเลือกตั้ง ผลตอบแทนจากตลาดหุ้นมักจะน้อยกว่าปีอื่นเล็กน้อย ข้อมูลจากปี 1926 - 2019 พบว่า CRSP index (ดัชนีหนึ่งที่บ่งบอกถึงผลตอบแทนตลาดหุ้นทั่วโลก อะไรคือ CRSP index? อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://riskproadvisor.com/factsheets/tpfgtamp/strategy1/models/VG_CRSP_100__Equity_063017_17-07-31-07-05.pdf)
.
ในปีมีการเลือกตั้ง ผลตอบแทนอยู่ที่ 10.6% เทียบกับปีอื่นๆที่อยู่ที่ 11.9%
ถึงแม้พิจารณาค่าเฉลี่ยดูไม่ต่างกันมาก แต่ถ้าพิจารณารายปีแล้ว 23 ครั้งที่มีการเลือกตั้ง ดัชนี CRSP มีผลตอบแทนติดลบถึง 7 ครั้ง
.
ในขณะที่ปีอื่นๆที่ไม่ได้มีการเลือกตั้งนั้น ผลตอบแทนเป็นบวกทั้งหมด
นอกเหนือจากนั้น การที่ประธานาธิบดีคนปัจจุบันได้ดำรงตำแหน่งต่อไป หากดูจากผลตอบแทน S&P500 index ย้อนหลังตั้งแต่ปี 1928 - 2019
พบว่าผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 13.9% ในปีเลือกตั้ง ในขณะที่ถ้าประธานาธิบดีคนใหม่ได้รับการเลือกตั้งนั้น ผลตอบแทนอยู่ที่ 9.3%
คนเราไม่ชอบความไม่แน่นอนครับ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากความไม่มั่นใจในนโยบายทางเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและแน่นอนจะส่งผลต่อความผันผวนระยะสั้นดังที่ได้กล่าวไว้ในงานวิจัยโดย Zorina et al ในปี 2019 หัวข้อ With Greater Uncertainty Comes Greater Volatility ตีพิมพ์ใน Journal of Index Investing
ว่าความผันผวนในระยะสั้นนั้น (วัดโดย VIX: Cboe Volatility Index (VIX) อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.investopedia.com/terms/v/vix.asp) มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการเลือกตั้งที่มีความสูสีคู่คี่มากครับ
.
2. ถ้าพรรคที่เชียร์ได้ เราจะมีมุมมองบวกต่อการลงทุน
.
ทุกคนย่อมมีพรรคการเมืองที่ตนเองชอบทั้งนั้น สำหรับสหรัฐแล้วคงหนีไม่พ้นสองพรรคใหญ่อย่าง Democrat และ Republican
จากงานวิจัยโดย Yosef, et al ในปี 2012 หัวข้อ Political Climate, Optimism, and Investment Decisions พบว่า
คนที่เชียร์พรรคอะไรอยู่มักจะมองว่า พรรคที่ตัวเองได้จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้น และส่งผลให้ประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าความเป็นจริงได้
.
อย่างที่ทราบกันว่า ก็มีคนที่ชื่นชอบทั้งสองพรรค ดังนั้นมุมมองและความคาดหวังของนักลงทุนในด้านที่ใครจะได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ไม่ได้เป็นปัจจัยส่งผลโดยตรงต่อตลาดหรือสามารถใช้ในการทำนายตลาดได้เลยครับ
แต่ที่น่าสนใจกว่านั่นคือ หัวข้อถัดไป
.
3. Democrat vs. Republican and Medium term
.
งานวิจัยที่โด่งดัง โดย Santa-Clara และ Valkano ตีพิมพ์ใน Journal of Finance ปี 2003 ในหัวข้อ The Presidential Puzzle: Political Cycles and the Stock Market ได้ทำการศึกษาข้อมูลตั้งแต่ปี 1927 - 1998, ตั้งแต่ Roosevelt จนถึงสมัย Clinton มีบทสรุปที่น่าสนใจว่า
.
- ผลตอบแทนจากตลาดหุ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ
ในปีที่ ประธานาธิบดี Democrat ได้รับการเลือกตั้ง ผลตอบแทนจาก Largest Firms (หุ้นกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่) สูงกว่าในปีที่ Republican ได้รับเลือก ถึง 7% และยิ่งไปกว่านนั้น สำหรับ Smallest Firms (หุ้นกลุ่มบริษัทขนาดเล็ก) ผลตอบแทนในสมัยของ Democrat มากกว่าถึง 22%! โดยเฉลี่ยแล้วผลตอบแทนของ CRSP ต่างกันมากถึง 16%!นอกจากนั้น 3 month Treasury Bill โดยเฉลี่ยแล้ว ในสมัยของ Democrat ก็ยังคงสูงกว่าถึง 9%
.
- Santa-Clara และ Valkano พิสูจน์ว่าผลตอบแทนที่ต่างกันนั้นไมเกี่ยวข้องกับ Business Cycle Variable (ปัจจัยที่เกี่ยวกับวงจรของธุรกิจ)
- ความแตกต่างของผลตอบแทนไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างการเลือกตั้ง แต่ใช้เวลาในการเกิดขึ้นหลังจากได้รับการเลือกตั้งแล้ว
- ความผันผวนมักจะสูงกว่า ในสมัยที่ ประธานาธิบดีจาก Republican ได้รับการเลือกตั้ง !
.
ซึ่งนี่แปลว่า พรรค Democrat ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของสหรัฐและของโลกโดยรวม ใช่หรือไม่?
อาจจะไม่ใช่! เพราะว่าอะไร? เรามาดูกันในหัวข้อถัดไปกันครับ
.
4. Risk Aversion & Risk Premium
.
Risk Aversion คือ การที่คนหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (เช่นการลงทุนในหุ้นในสัดส่วนที่น้อยลง อาจจะลงในอย่างอื่นเช่นพันธบัตรมากขึ้นหรือเลือกท่ีจะเก็บในบัญชีธนาคารมากกว่า มีความระวังมากขึ้น รอลงเมื่อหุ้นราคาลงมามากๆเท่านั้น)
.
Risk Premium คือ อัตราส่วนต่างที่เราต้องการเพื่อเป็นค่าความเสี่ยง เหมือนเป็นส่วนต่างไว้กันเหนียว (เช่น ถ้าเรามองหุ้นบริษัท ก ไก่ มีความเสี่ยงมาก เราจะขอ Risk Premium มากขึ้น คือหุ้นต้องราคาต่ำมากจริงๆ มี Risk Premium มากจริงๆ ถึงจะกล้าซื้อ)เป็นธรรมดาที่คนเราจะกล้ารับความเสี่ยงที่มากขึ้น เวลาเราคิดว่าเศรษฐกิจกำลังจะไปได้ดี, และเป็นธรรมดาที่เมื่อเรากล้ารับความเสี่ยงที่มากขึ้น โอกาสที่เราจะได้ผลตอบแทนน้อยลงก็มากขึ้นเพราะขาด Risk Premium ที่สมเหตุสมผล ในขณะเดียวกัน ถ้าเรามองเศรษฐกิจไม่ดี เราจะมี Risk Aversion ที่มากขึ้นและต้องการ Risk Premium มากขึ้น และโอกาสในการกำไรก็มากขึ้น
.
ในช่วงเวลาที่คนมีความกลัวและรู้สึกถึงความไม่แน่นอน คนมักจะเลือกพรรคการเมืองที่เป็นฝ่ายซ้าย หรือ Democrat (งานวิจัยที่สนับสนุนเรืองนี้มากมาย เช่น จาก Pastor & Veronesi, Political Cycles and Stock Returns ปี 2019 และ L. Guiso et al., Time varying risk aversion ปี 2018) ด้วยความกลัวความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจ, การตกงาน, ความฝืดเคือง และส่งผลให้คนแสวงหารัฐสวัสดิการมากขึ้น
.
ดังนั้น จากหลักฐานเท่าที่มีเราอาจจะกล่าวได้ว่า ไม่ใช่ Democrat ที่ทำให้ผลตอบแทนของตลาดทุนไปได้ดี แต่เป็นเพราะว่า คนมักเลือก Democrat ในจังหวะที่คนมี Risk Aversion และเพราะ Risk Aversion ต่างหากที่ทำให้คนมีความรอบคอบในการลงทุนที่มากขึ้น และนั่นเองส่งผลให้ผลการตอบแทนในการลงทุนเป็นไปได้ดีครับ
.
==========
.
Risk Averse นั้น สำคัญมาก เพราะไม่มีอะไรแน่นอนครับ
.
ในปี 2016 ที่ Donald Trump แข่งกับ Hillary Clinton ก็ไม่มีใครคาดคิดว่าปี Trump จะชนะ จนกระทั่งประกาศผล
อเมริกาก็เพิ่งเคยมีประธานาธิบดีแบบ Donald Trump ที่สำหรับนักวิเคราะห์หลายๆสำนักแล้ว ยากที่จะเดาทางได้ เล่นเอาปวดหัวกันไปทั่วโลก
ไม่มีใครคาดว่าจะเกิด Covid-19 และจะเกิดการระบาดขนาดนี้และส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกไปอีกหลายปี
.
ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกคนลงทุนอย่างระมัดระวังและรอบคอบครับ
Risk Averse ไม่ใช่การไม่รับความเสี่ยงแต่คือการรับความเสี่ยงแต่พอประมาณ
ลงทุนด้วยความไม่ประมาท กระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
และขอให้ผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้ด้วยกันนะครับ
.
ขอบคุณข้อมูลจาก
.
https://www.forbes.com/sites/kristinmckenna/2020/08/18/heres-how-the-stock-market-has-performed-before-during-and-after-presidential-elections/?sh=595fb9754f86
ช่อง Common Sense Investing by Ben Felix: https://www.youtube.com/watch?v=HYHu9PMY_C4
https://eprints.pm-research.com/17511/34817/index.html?49834
[2019] Pageant Media. Republished with permission of PMR Journal of Index Investing [With Greater Uncertainty Comes Greater Volatility, Inna Zorina, Jamie Khatri, Carol Zhu, and James J. Rowley Jr., Volume 10, Issue 3]
https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=1509168
Bonaparte, Yosef and Kumar, Alok and Page, Jeremy K., Political Climate, Optimism, and Investment Decisions (February 26, 2012). AFA 2012 Chicago Meetings Paper, Available at SSRN: https://ssrn.com/abstract=1509168 or http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.1509168
Pastor, Lubos and Veronesi, Pietro, Political Cycles and Stock Returns (May 26, 2019). Chicago Booth Research Paper No. 17-01, Fama-Miller Working Paper, Available at SSRN: https://ssrn.com/abstract=2909281 or http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.2909281
https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=2909281
Luigi Guisoa,b , Paola Sapienza b,c,d, Luigi Zingales, Time varying risk aversion / Journal of Financial Economics 128 (2018) 403–421
http://www.eief.it/eief/images/Guiso-Sapienza-Zingales_JofFE_2018.pdf
แอดโจ
「ประธานาธิบดี หมายถึง」的推薦目錄:
- 關於ประธานาธิบดี หมายถึง 在 คุยการเงินกับที Facebook 的最讚貼文
- 關於ประธานาธิบดี หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於ประธานาธิบดี หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於ประธานาธิบดี หมายถึง 在 ระบบประธานาธิบดีคื... - Prof. Sombat Thamrongthanyawong, Ph.D 的評價
- 關於ประธานาธิบดี หมายถึง 在 ทำความเข้าใจกระบวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา I TNN World ... 的評價
ประธานาธิบดี หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
นักการเมืองกับอนาคตประเทศ
ในบรรดาอาชีพต่าง ๆ ที่ถูกเหน็บแนบ ดูถูกดูแคลน ไม่ให้ความเชื่อมั่นศรัทธามากที่สุด ปรากฏว่า อาชีพ "นักการเมือง" ติดหนึ่งในอาชีพที่มีคนกล่าวถึง ในเชิงเสียดสี เย้ยหยัน ดูถูกดูแคลน มาโดยตลอด
นับตั้งแต่อดีต มีคำกล่าวจำนวนมาก ที่ค่อนขอด เหน็บแนม นักการเมือง อาทิ อริสโตเติล กล่าวไว้ว่า ความดีของมนุษย์ต้องสิ้นสุด เมื่อเริ่มเล่นการเมือง
จอร์จ ปอมปิโด อดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศส กล่าวไว้ว่า "รัฐบุรุษ คือ นักการเมืองที่อุทิศตัวเพื่อรับใช้ประเทศชาติ ส่วนนักเมืองนั้น คือ รัฐบุรุษ ที่เอาประเทศชาติมารับใช้ตนเอง"
แม้แต่บุคคลที่อยู่ในแวดวงการเมืองระดับสูง ผู้นำประเทศที่มีชื่อเสียง ก็ยังมีคำพูดที่แสดงถึงความ หมดศรัทธาในตัวนักการเมือง แฮรี่ เอส ทรูแมน ประธานาธิบดี คนที่ 33 ของสหรัฐ เคยกล่าวไว้ว่า "สิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการมากที่สุดในทางการเมือง คือ อยากรู้วิธีเลิกเล่นการเมือง"
ในประเทศเราเช่นกัน นักการเมืองเป็นกลุ่มคนที่ยังไม่ได้รับความเชื่อมั่นและไว้วางใจเท่าที่ควร คำเรียก นักการเมืองน้ำเน่า พวกเสือ สิงห์ กระทิง แรด เป็นคำกล่าวที่เราคุ้นชินว่าหมายถึงใคร
ถึงกระนั้นไม่ว่า นักการเมือง จะถูกกำหนดนิยามเช่นไร แต่แท้จริงแล้วนักการเมืองเป็นกลุ่มคนที่สำคัญยิ่งในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นผู้ได้รับสิทธิโดยชอบธรรมจากการเลือกของประชาชนให้เข้ามาบริหารประเทศ พวกเขาเป็นกลุ่มบุคคลที่จะชี้อนาคต ชี้ความเป็นความตายของประเทศชาติ และประชาชน
แท้จริงแล้ว นักการเมือง โดยตัวมันเองแล้วมีความเป็นกลาง (neutral) และในความเป็นจริงนักการเมืองจำนวนมากในโลกนี้ เป็นคนดี มีอุดมการณ์ มีจิตสาธารณะ ปรารถนาทำสิ่งดีเพื่อประชาชน เพื่อสังคม เพื่อชาติ อาจเป็นกลุ่มที่เรียกว่า "นักการเมืองน้ำดี" ซึ่งถ้าเรารวมกลุ่ม นักการเมืองน้ำดี ให้มีจำนวนที่มากขึ้น และรวมพลังกันอย่างเข้มแข็ง อนาคตของประเทศ ย่อมเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่แน่นอน
ในช่วงเวลาแห่งการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ใกล้เข้ามา เป็นโอกาสอีกครั้งที่ประชาชนจะได้ใช้วิจารณญาณในการเลือกผู้แทนของตน ทว่า..นักการเมืองน้ำดีมีโอกาสมากน้อยเพียงใดนั้น เมื่อมองอนาคตประชาธิปไตยไทย หากดำเนินต่อไปในสภาพที่เป็นอยู่ แม้ว่าเราจะสามารถแก้ไขระบบให้ดี แก้รัฐธรรมนูญที่มั่นใจได้ว่าเป็นของประชาชนมากที่สุด แต่อนาคตประชาธิปไตยคงเป็นเหมือนต้นไม้ที่ไร้รากแก้ว ย่อมไม่สามารถต้านทานลมพายุที่พัดผ่านมาได้
หากบุคคลที่สำคัญที่สุด 2 กลุ่ม อันได้แก่ ประชาชน และนักการเมือง ขาดความสำนึกในคุณค่าของอุดมการณ์ประชาธิปไตย ไม่สนใจที่จะดำเนินชีวิตตามวิถีประชาธิปไตย และหากพรรคการเมืองยังไม่ได้เป็นพรรคของประชาชนอย่างแท้จริง
ดังนั้น อนาคตประเทศจะเป็นเช่นไรจึงขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่
มีนักการเมืองน้ำดีจำนวนมาก นักการเมืองน้ำดี ในที่นี้ หมายถึง นักการเมืองที่มีอุดมการณ์ เป็นผู้ที่มี "เป้าหมายชีวิตชัดเจน" คือ เป็นนักการเมืองเพื่อสังคม โดยมิได้มองว่า นักการเมืองเป็นเพียง "อาชีพหนึ่ง" ที่มีเพื่อสร้างรายได้ เพื่อความอยู่รอด แต่เป็นมืออาชีพที่ทำให้เป้าหมายสำเร็จ มิใช่เพื่อประโยชน์ของเรา แต่เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติโดยรวม
ผมคิดว่า ถ้าเราต้องการหาเงิน เราไม่ควรเป็นนักการเมือง เพราะนั่นเป็นทาง "ฆาตกรรมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์" ของตนเอง แต่ควรตระหนักว่า นักการเมือง คือ อาชีพที่มีเกียรติ เพราะเป็นตัวแทนประชาชน เพื่อทำประโยชน์แก่ประชาชน ควรได้รับคำสรรเสริญเป็นรางวัล ไม่ใช่คำสาปแช่ง
ที่สำคัญ นักการเมืองต้องตระหนักว่า ตนเองไม่ได้เป็นเพียง "ตัวแทน" ประชาชน เท่านั้น แต่อยู่ในบทบาท "ผู้นำ" ประชาชนด้วย แต่จะเป็นผู้นำที่ดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่า เราต้องการ นำประชาชนเพื่ออะไร หากเรานำเพื่ออนาคตที่ดีของประเทศชาติ เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน เพื่อสร้างปราสาทคอนกรีต ไม่ใช่ปราสาททราย นักการเมืองผู้นั้น ย่อมนับได้ว่าเป็น นักการเมืองที่มีเกียรติ มีคุณค่า มีพรรคการเมืองที่เป็นของประชาชน แนวคิดการให้พรรคการเมืองเป็นของประชาชน ไม่ใช่พรรคของนายทุนเป็นแนวคิดที่ผมพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นมาโดยตลอด ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง พ.ศ.2548ผมได้สื่อสารแนวคิดนี้แก่ผู้มาฟังคำปราศรัย ได้กล่าวเชิญชวนให้ร่วมกันบริจาค นอกจากนี้ ได้เสนอว่า ต้องแก้กฎหมายเพื่อจำกัดวงเงินสนับสนุนพรรคการเมืองของกลุ่มทุน เพื่อเปิดโอกาสให้ "คนดี-คนเก่ง" เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น ไม่ใช่เพียงแต่ คนรวย เท่านั้น หากแนวคิดนี้ขยายผลสู่ภาคปฏิบัติที่กว้างขวางขึ้น เราจะมีนักการเมืองที่เป็น "ตัวแทน" ประชาชน ทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมมากขึ้นอย่างแน่นอน
ประชาชนทุกคนควรจับตาดูว่า นักการเมืองที่สมัครเข้ามาเป็นผู้แทนราษฎรในสมัยเลือกตั้งที่จะมาถึงนั้น เป็นกลุ่มบุคคลเช่นไร เป็นนักการเมืองน้ำดีที่พร้อมจะเข้ามาลบล้างภาพ นักการเมืองเดิม ๆ ที่ถูกดูหมิ่น ดูแคลน และแทนที่ด้วยคำยกย่อง ชื่นชม จากประชาชนเพราะช่วยแก้ปัญหาและนำพาประเทศไปสู่อนาคตที่ดีกว่านี้ได้หรือไม่ ประชาชนทุกคนต้องตั้งใจพิจารณาดู
ประธานาธิบดี หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
"รูปแบบการปกครองสาธารณรัฐที่มีประมุขของรัฐเป็นบุคคลธรรมดา"
รศ.สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
สาธารณรัฐ (Republic) หรือ มหาชนรัฐ หมายถึง รัฐซึ่งมีสามัญชนเป็นประมุขกล่าว คือ ผู้เป็นประมุขของรัฐมิได้อยู่ในฐานะที่อันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้เหมือนพระมหากษัตริย์ เป็นเพียงสามัญคนธรรมดาและถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ สามารถจะถูกฟ้องร้องในคดีแพ่งหรือคดีอาญาได้เหมือนกับราษฎรอื่นทุกประการ ซึ่งประมุขของรัฐที่เป็นสาธารณรัฐหรือมหาชนรัฐจะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น ประธานาธิบดี ท่านผู้นำ เป็นต้น รูปแบบของการปกครองสาธารณรัฐหรือมหาชนรัฐ ซึ่งมีสามัญชนเป็นประมุขมีการปกครองอยู่ 2 ระบอบ คือ
1.ระบอบเผด็จการ
ระบอบเผด็จการ (Dictatorship) คือ ระบอบที่ผู้เป็นประมุขทรงไว้ซึ่งอำนาจเด็ดขาดไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดใด ๆ ในทางกฎหมายและอาจเข้าสู่ตำแหน่งประมุขด้วยวิธีการแย่งอำนาจจากผู้อื่นด้วยวิธีด้วยการปฏิวัติ (Revolution) หรือการรัฐประหาร (Coup d’ Etate) หรือเข้าสู่อำนาจด้วยการสืบทอดจากผู้มีอำนาจคนก่อน เช่น อาจจะเป็นลูกหรือน้องชาย เป็นต้น
ดังนั้นระบอบเผด็จการ จึงเป็นระบอบที่ระดมพลังมวลชนซึ่งเป็นกลไกรัฐที่ยื่นแขนขาออกไปเพื่อสร้างความยินยอมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุน ระบอบเผด็จการมุ่งสร้างสังคมใหม่โดยให้ประชาชนอยู่ใต้การบงการของอุดมการณ์ สถาบันทุกอย่างจะถูกใช้ไปเพื่อปฏิบัติภารกิจของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงมีอำนาจอย่างล้นเหลือ ระบอบเผด็จการบางประเทศอาจห้ามก่อตั้งสหภาพแรง เพราะเห็นว่าอาจต่อต้านอำนาจรัฐได้
ระบอบเผด็จการมี 3 รูปแบบ คือ เผด็จการทหาร (Military dictatorship) เผด็จการฟาสซิสต์ (Fascist dictatorship) และเผด็จการคอมมิวนิสต์ (Fascism) ซึ่งแต่ละระบอบต่างมีสาระสำคัญ ดังนี้
1)มีผู้นำคนเดียวหรือคณะผู้นำกองทัพหรือพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง สามารถใช้อำนาจนั้นได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องฟังเสียงคนส่วนใหญ่ของประเทศ
2) การรักษาความมั่นคงของผู้นำหรือคณะผู้นำมีความสำคัญกว่าการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประชาชนไม่สามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้นำได้เลย
3) ผู้นำหรือคณะผู้นำสามารถที่จะอยู่ในอำนาจได้ตลอดชีวิตตราบเท่าที่กลุ่มผู้ร่วมงานหรือกองทัพยังให้ความสนับสนุนอยู่ ประชาชนไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงผู้นำได้โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ
4) รัฐธรรมนูญหรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญและรัฐสภา ไม่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางการปกครองเหมือนระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นเพียงแต่รากฐานรองรับอำนาจผู้นำหรือคณะผู้นำเท่านั้นไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง
ซึ่งรัฐที่มีการปกครองในระบอบเผด็จการโดยมีชื่อเรียกเป็นทางการ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of Chaina) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (Dimocratic People’s of Korea) (ที่เรารู้จักในชื่อสามัญว่า “เกาหลีเหนือ”) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People’s Dimocratic Republic) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Federal Republic of Vietnam) สหภาพพม่า (Union of Myanmar) เป็นต้น
2.การปกครองระบอบประชาธิปไตย
ระบอบประชาธิปไตย (Democracy) หมายถึง การปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ดังนั้นอำนาจในการปกครองของรัฐบาลที่ผู้ปกครองเป็นประมุขที่มาจากบุคคลธรรมดาโดยมาจากการเลือกตั้งทางตรงหรือทางอ้อมจากประชาชนและมีอำนาจจำกัดเพียงเท่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
รูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยอาจแบ่งได้ 3 รูปแบบ คือ ประชาธิปไตยทางตรง ประชาธิปไตยทางผู้แทน และประชาธิปไตยทางตรงกับทางผู้แทนผสมผสานกัน ซึ่งเรียกว่า "ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของประชาชนหรือประชาธิปไตยแบบกึ่งทางตรง” ดังนี้
2.1 การปกครองระบอบประชาธิปไตยทางตรง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นระบอบการปกครองที่ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจในปัญหาต่างๆของตนทุกเรื่อง ขอบเขตของการมีส่วนร่วมของประชาชนในกรณีนี้จึงมีครบ 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นระบอบการปกครองที่เหมาะสมสำหรับชุมชนเล็กๆที่มีประชาชนไม่มากและปัญหาหรือเรื่องที่จะตัดสินใจไม่ยุ่งยาก จะเห็นได้ว่าการใช้อำนาจอธิปไตยรูปแบบนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยกรีกโบราณ เมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งในสมัยดังกล่าวประชาชนมีจำนวนน้อย สามารถที่จะเรียกประชุมหรือนัดหมายกันได้ง่าย เพื่อออกความเห็นหรือตัดสินปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการปกครองประเทศหรือรัฐ ปัญหาเกี่ยวกับการออกกฎหมายสำคัญๆ หรือแม้แต่การเลือกตั้งบุคคลสำคัญของรัฐ ดังนั้นการเรียกประชุมนัดหมายประชาชนจึงกระทำได้ง่าย แต่ในปัจจุบันประชาชนพลเมืองมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และการปกครองการบริหารราชการแผ่นดินมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นยากแก่การให้ประชาชนทั้งหลายมาประชุมรวมกันได้เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ
ในปัจจุบันการใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรงนี้ยังใช้อยู่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ สำหรับบางมลรัฐ ที่เรียกว่า “Canton”มีอยู่ 3 มลรัฐ กล่าวคือ 1 ปี ประชาชนก็มาประชุมกันพิจารณาออกกฎหมายหรือจัดระเบียบภาษีอากร เสร็จแล้วก็เป็นหน้าที่กรรมการของมลรัฐที่จะทำงานต่อไปตามนั้นหรือในประเทศลิกเตนสไตล์เป็นรัฐเล็กๆ ในยุโรปที่มีประชากรประมาณ 36,000 คน เป็นต้น
ข้อสังเกต การใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรงนี้จะใช้ได้ผลดีเฉพาะในท้องที่ที่มีพลเมืองน้อยและมีความเจริญในทางจิตใจใกล้เคียงกัน แต่ถ้าท้องที่ใดมีพลเมืองมากก็ย่อมเป็นการยากที่จะใช้วิธีนี้มาประชุมออกเสียงจัดทำกฎหมายไjด้ ด้วยเหตุนี้ประเทศต่างๆจึงไม่นิยมใช้การอำนาจอธิปไตยทางตรงและหันมาใช้อำนาจอธิปไตยทางผู้แทนมาใช้ในการปกครองประเทศ
2.2 การปกครองระบอบประชาธิปไตยทางผู้แทน
การปกครองระบอบประชาธิปไตยทางผู้แทน (Representative Democracy) เป็นระบอบการปกครองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกผู้แทนหรือตัวแทนเป็นผู้ตัดสินใจและแก้ปัญหาแทนตน การปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยอ้อมเหมาะสมสำหรับชุมชนขนาดใหญ่มีประชากรมาก ปัญหาที่จะแก้ไขหรือเรื่องที่จะตัดสินใจก็มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมาก จึงจำเป็นต้องเลือกตัวแทนเพื่อทำหน้าที่แทนตน โดยประชาชนไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของตน ประชาชนมีสิทธิเลือกตัวแทนเท่านั้น ฉะนั้นจุดอ่อนสำคัญของประชาธิปไตยโดยอ้อม ก็คือ ไม่มีหลักประกันว่าการตัดสินใจของตัวแทนจะสนองตอบต่อปัญหาและความต้องการของประชาชน เนื่องจากเห็นว่ามีผู้แทนซึ่งจะทำหน้าที่แทนตนอยู่แล้ว เมื่อขาดการติดตามและตรวจสอบจากประชาชน ผลที่ตามมาก็คือ ผู้ปกครองและผู้บริหารซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนมีแนวโน้มที่จะปกครองและบริหาร โดยคำนึงถึงประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องมากกว่าผลประโยชน์ของประชาชน
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สาระสำคัญของการใช้อำนาจอธิปไตยโดยอ้อมหรือโดยทางผู้แทน คือ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (Popular Sovereignty) แต่ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยตรง จึงมีการมอบอำนาจให้กับตัวแทนประชาชน ซึ่งลักษณะสำคัญของการปกครองโดยทางผู้แทน คือ
1) ประชาชนมอบอำนาจอธิปไตยของตนให้ตัวแทนไปใช้แทนตน
2) การมอบอำนาจอธิปไตยต้องผ่านกระบวนการเลือกตั้ง (Election) ภายใต้
ระบบการแข่งขัน (Competition)
3) ตัวแทนของประชาชนมีอำนาจจำกัดตามที่กฎหมาย (รัฐธรรมนูญ) กำหนดไว้เท่านั้น
4) เป็นการมอบอำนาจให้กับผู้แทนอย่างมีเงื่อนไข หากผู้แทนใช้อำนาจนอก
ขอบเขตของกฎหมาย ใช้อำนาจโดยพลการหรือโดยบิดเบือนเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยย่อมเรียกคืนได้
แต่อย่างไรก็ตามการใช้อำนาจอธิปไตยโดยอ้อมหรือผ่านทางผู้แทนกลับพบข้อบกพร่องและจุดอ่อนอยู่หลายประการ ทำให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลขาดความเชื่อมั่นศรัทธาจากประชาชน ทำให้ประชาชนเกิดความเบื่อหน่ายกับการเมือง จึงได้มีแนวคิดการใช้อำนาจอธิปไตยกึ่งทางตรงหรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมขึ้นมา กล่าวคือ ผสมผสานระหว่างประชาธิปไตยทางตรงกับประชาธิปไตยทางผู้แทนขึ้นมาเพื่อแก้ไขความบกพร่องระบอบประชาธิปไตยทางผู้แทน
2.3 การปกครองระบอบประชาธิปไตยกึ่งโดยตรง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยกึ่งโดยตรงของประชาชน (semi-Direct Democracy) หรือเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประชาชนแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) ซึ่งเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยในรูปแบบผสม รูปแบบนี้มีหลักการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนโดยอ้อมหรือทางผู้แทนและอำนาจอธิปไตยของประชาชนโดยตรง เข้ามาใช้รวมกัน โดยประชาชนยังสงวนสิทธิที่จะใช้ อำนาจอธิปไตยทางตรงในบางเรื่อง แต่ส่วนใหญ่แล้วประชาชนได้มอบหมายให้ตัวแทนเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนตน กล่าวคือ การใช้อำนาจอธิปไตยรูปแบบนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งนั้นจะเป็นผู้ใช้สิทธิอำนาจอธิปไตยแทนประชาชนในการบริหารปกครองประเทศโดยการจัดตั้งรัฐบาล หรือแม้แต่การตรากฎหมาย แต่ในขณะเดียวกัน นอกจากจะให้ประชาชนใช้อำนาจอธิปไตยทางอ้อม โดยเลือกผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่แทนตนแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง และเรื่องสำคัญอื่นๆโดยการใช้อำนาจอธิปไตยได้โดยตรง เช่น การให้ประชาชนใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายเข้าสู่สภา สิทธิในการออกเสียงประชามติหรือแม้แต่การให้สิทธิประชาชนเข้าชื่อถอดถอนตำแหน่งสำคัญของผู้บริหารหรือผู้ปกครองประเทศ เป็นต้น
ดังนั้นเห็นได้ว่าการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนแบบมีส่วนร่วมหรือแบบผสมระหว่างประชาธิปไตยทางตรงกับประชาธิปไตยทางอ้อมเข้าด้วยกันหรืออาจเรียกว่า “การใช้อำนาจอธิปไตยกึ่งทางตรง” เพื่อรักษาส่วนแบ่งพื้นที่ทางการเมืองให้ประชาชนได้เข้ามีส่วนร่วมในกรอบที่สามารถรักษาดุลยภาพระหว่างประชาธิปไตยทางตรงกับประชาธิปไตยทางอ้อม และยึดโยงเข้ากันได้กับความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยของประชาชนด้วย ซึ่งต้องคำนึงถึงความสามารถในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองและความสามารถในการสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเมืองของประชาชน (Political efficacy) ได้แก่ องค์ประกอบของหลักการในการกระจายอำนาจและการร่วมตัดสินใจทางการเมืองของประชาชนหรือการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในกิจกรรมสำคัญในทางการเมือง เป็นต้น
ดังนั้นการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนจึงเป็นรูปแบบที่เหมาะสมในการปกครองประเทศในปัจจุบัน ส่วนประชาธิปไตยทางตรงนั้นเป็นตัวเสริมหรือสนับสนุนการมีประชาธิปไตยทางอ้อมหรือทางผู้แทน ซึ่งเรียกว่า “ประชาธิปไตยแบบกึ่งทางตรงหรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม” อันเป็นการผสมผสานแนวความคิดของทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนกับอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้
1) แนวคิดทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนซึ่งยอมรับว่า ประชาชนแต่ละคนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยคนละหนึ่งส่วนนั้น กำหนดให้ประชาชนมีสิทธิแสดงประชามติ (Referendum) การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (Initiative Process) และการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่ง (Recall) แต่แนวคิดตามทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติเป็นที่รวมของประชาชนทุกคน ดังนั้นผู้แทนจึงมีอิสระในตัวเองที่จะทำแทนชาติได้
2) แนวความคิดของทั้งสองทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นนั้น เมื่อมองในแง่ปรัชญาทางกฎหมายมหาชนแล้วเห็นได้ว่า ทั้งสองทฤษฎีมีมุมมองที่แตกต่างกันในเรื่องของอำนาจอธิปไตยที่ไปด้วยกันได้ เพราะแนวคิดที่กล่าวว่า ชาตินั้นมีความเป็นหนึ่งเดียวแบ่งแยกไม่ได้ แตกต่างกับแนวคิดที่ว่าประชาชนแต่ละคนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยคนละหนึ่งส่วนโดยสิ้นเชิง รัฐสมัยใหม่ในปัจจุบันจึงให้การยอมรับแนวความคิดผสมผสานทั้งสองทฤษฎีดังกล่าว
ปัจจุบันได้มีการนำแนวความคิดของทั้งสองทฤษฎีมาใช้ร่วมกัน และพยายามที่จะทำให้แนวคิดทั้งสองไปด้วยกันได้อย่างราบรื่น ในหลายๆประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประชาชน คือ หัวใจในการพยายามที่จะดึงจุดเด่นจุดด้อยของทั้งสองทฤษฎีออกมาเพื่อนำมาปรับปรุงให้มีความสอดคล้องกันของการปกครองในระบอบดังกล่าว ประชาชนซึ่งมีสิทธิและมีเสียงในการปกครองประเทศ เสียงของประชาชนเป็นเสียงสวรรค์ที่ฝ่ายตัวแทนของประชาชน ผู้ปกครองบ้านเมืองต้องฟังเสียงของประชาชน นอกจากนี้ยังรวมถึงกระบวนการเสริมต่างๆที่จะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมืองโดยตรงด้วย
ดังนั้นจึงนิยามความหมายของประชาธิปไตยแบบกึ่งทางตรงหรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ ระบบการปกครองที่สมาชิกรัฐสภาที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ตรากฎหมายและลงมติในการบังคับใช้กฎหมาย แต่ในขณะเดียวกันก็มีมาตรการ การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน ในการบริหารกิจการบ้านเมืองในบางเรื่อง เช่น การแสดงประชามติ (Referendum) การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (Initiative Process) การถอดถอน (Recall) ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและการประชาพิจารณ์ (Public Hearing) เป็นต้น
ประธานาธิบดี หมายถึง 在 ทำความเข้าใจกระบวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา I TNN World ... 的推薦與評價
การเลือกตั้ง ประธานาธิบดี สหรัฐฯ มีกระบวนการที่ซับซ้อนมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก มีตั้งแต่การเลือกตั้งขั้นต้น การดีเบต และในวันเลือกตั้งจริง ... ... <看更多>
ประธานาธิบดี หมายถึง 在 ระบบประธานาธิบดีคื... - Prof. Sombat Thamrongthanyawong, Ph.D 的推薦與評價
คำว่า"ประธานาธิบดี"คือคำที่ใช้เรียกประมุขของประเทศ ประเทศทุกประเทศต้องมีประมุขทั้งสิ้น แต่ชื่อที่ใช้เรียกประมุขอาจแตกต่างกันไป เช่น จักรพรรดิ์ พระมหากษัตริย์ ... ... <看更多>